วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6 วันที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

ครั้งที่ 6  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.



               

              วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ตอบคำถามเชิงจิตวิทยา โดยอาจารย์กำหนดให้นักศึกษาเป็นเด็กที่ได้ไปเที่ยวสวนสนุกในการไปเล่นเครื่อง คือ รถไฟเหาะแห่งชีวิต

ภาพกิจกรรม เครื่องเล่นรถไฟเหาะชีวิต

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ





         เป็นทักษะที่กว้างและใหญ่มาก เด็กพิเศษที่ขนาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อเเม่ การที่เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข 
***ทักษะนี้เด็กพิเศษจะขนาดมาก จะต้องส่งเสริมจากตัวเลย***





การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม นอกจากนี้กิจกรรมการเล่นยังจะช่วยส่งเสริมเด็กพิเศษได้ดี เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลึกดึง





               เด็กพิเศษไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าเล่นอย่างไร ครูจะต้องเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง โดยครูจะจดบันทึก จะสำคัญมาก เพราะจะรู้ว่าเด็กมีทักษะใหม่ และทำแผน IEP





             




 ครูวางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง และคำนึงถึงเด็กทุกคนว่า กิจกรรมนั้นเด็กสามารถทำได้ หรือยากจนเกินไป และให้เด็กเล่น 2-4 คน (เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้กับเด็กพิเศษ)






ครูอยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มเเละพยักหน้า หน้าให้ถ้าเด็กหันมาหาครู และไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กจนมากเกินไป เมื่อเด็กทำงานเสร็จไว ครูสามารถเอาวัสดุอุปกรณ์ เพื่อยึดเวลาการเล่น และให้แรงเสริมกับเด็ก









ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกิจกรรมกับเพื่่น ทำโดยการ การพูดนำของครู










ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ การให้โอกาสเด็กเป็นสิ่งที่ดี เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง



กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษด้วยเสียงเพลง

ขั้นที่ 1 ครูจับคู่เด็ก 2 คน ต่อกระดาษ 1 แผ่น และเลือกสีเทียนที่ตนเองชอบคนละ 1 แท่ง
ขั้นที่ 2 ให้เด็กตกลงกันว่าใครจะเป็นเส้น ใครจะเป็นจุด
ขั้นที่ 3 คนที่เป็นเส้นให้วาดลงในกระดาษตามความรู้สึกที่ได้ฟังเพลง โดยเส้นที่วาดต้องมีลักษณะวงกลมที่วาดอยู่ด้วยและห้ามยกมือจนกว่าเพลงจะจบ
ขั้นที่ 4 คนที่เป็นจุดให้วาดจุดลงในวงกลมที่เพื่อนวาดโดยจะวาดกลมวงใหญ่หรือเล็กก็ได้
ขั้นที่ 5 เมื่อวาดจบให้มองดูว่าที่วาดมาสามารถมองเป็นรูปปะไรได้บ้าง
ขั้นที่ 6 ครูให้ลงสีตามรูปที่เราเห็นให้สวยงาม
กิจกรรมร้องเพลงประจำสัปดาห์









                 -ทำให้รู้จักการส่งเสริมทักษต่างๆของเด็กพิเศษว่าครูควรส่งเสริมด้วยวิธีใดที่ถูกต้องและเหมาะสม สำหรับนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยในอนาคต


                -การทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ เป็นกิจกรรมที่ช่วยบำบัดเด็กพิเศษได้ดี และสามารถสร้างมิตรสัมพันธ์กับเพื่อนๆภายในห้องเรียนได้ดีขึ้น

                -การใช้คำชักชวนเด็กในการร่วมทำกิจกรรมเเละวิธีการต่างที่สามารถใช้กับเด็กพิเศษได้จริง

                -การฟังเพลงเป็นกิจกรรมที่สามารถบำบัดเด็กพิเศษได้ดีที่สุด และจะส่งผลให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้บางอย่าง




การประเมิน

ประเมินตนเอง: การเเต่งกาย ไม่ควรเรียบร้อย การเข้าเรียน เข้าห้องเรียนสาย ตั้งใจฟังอาจารย์ฟังอาจารย์สอนเเละบันทึกความรู้เพิ่มเติม ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาร่วมกันทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน:เพื่อนๆตั้งใจเรียน เพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมที่นำมาจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษา เพื่อนจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์บอกเพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์: อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย นำสื่อการเรียนการสอนมาให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรม อาจารย์อธิบายเนื้อสาระที่ละเอียด อาจารย์ยกตัวอย่างประสบการณ์เดิมของอาจารย์ให้นักศึกษาฟัง






























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น