วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกครั้งที่ 16 วันที่ 1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558


บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  1  เดือนพฤษภาคม  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 16  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


วันนี้สอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีสลากมาให้ 2 กล่อง กล่องแรกจะเป็นรายชื่อนักศึกษากล่องที่สองจะเป็นรายชื่อเพลง กติกามีอยู่ว่าอาจารย์จะเป็นคนจับสลากชื่อนักศึกษาขึ้นมาว่าใครจะเป็นคนออกมาสอบร้อง เมื่อนักศึกษาออกมาแล้วก็ต้องหยิบสลากชื่อเพลงในการสอบ

กติกาในการให้คะแนน มีดังนี้ 

 - เปลี่ยนเพลงหัก 0.5 คะเเนน
 -ดูเนื้อเพลงหัก     1    คะเเนน
 -เพื่อนช่วยร้องใช้ตัวช่วยหัก 1 คะเเนน
 -ไม่ดูเนื้อร้อง 5 คะเเนน
 - ถ้าหยิบสลากได้เพลงลุงมาชาวนา ได้คะเเนนเพิ่มอีก 1 คะเเนน 

***เพลงที่หยิบสลากได้ คือ เพลงรำวงดอกมะลิ ***

ภาพประทับในการปิดคอร์ส











บันทึกอนุทินครั้งที่ 15 วันที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ.2558



บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  22  เดือนเมษายน  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 15  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

       ก่อนเข้าเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนทำแบบทดสอบจิตวิทยา ชื่อแบบทดสอบ  ดิ่งพสุธา  จากนั้น อาจารย์ได้สอนทฤษฎี ในเรื่องโปรเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualozed Education Program) โดยมีหัวข้อ ดังนี้ 

 แผน IEP

 -การเขียนแผน IEP 
 -ส่วนประกอบของแผน IEP
 -ประโยชน์ต่อเด็ก 
 -ประโยชน์ต่อครู
 -ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การจัดทำแผน
   - การกำหนดจุดมุ่งหมาย
   -จุดมุ่งหมายระยะยาว
   -จุดหมายระยะสั้น
 3.การใช้แผน
 4.การประเมินผล
    -การจัดทำแผน IEP
     จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน แล้วช่วยกันทำเขียนแผน IEP โดยการเขียนแผน อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนจำนวนกี่ทักษะก็ได้ โดยให้สมมุติว่าเพื่อนในกลุ่ม 1 คน เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยกลุ่มดิฉันได้สมมุติให้นางสาวบุราคัม สะระณุ (สมายด์) เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ท้ายคาบเรียนอาจารย์ให้ส่งเเผนการสอนทุกกลุ่ม

สรุปการเรียนการเขียนแผน IEP 
      ในการเรียนครั้งนี้ทำให้ดิฉันทราบถึงการเขียนแผน IEP นั้นต้องใช้ระยะเวลาในการเขียนเท่าไร และมีวิธีการเขียนที่ต้องมีความละเอียดและชัดเจน เพื่อที่จะนำไปใช้กับเด็กได้จริง แผน IEP นั้น จะเขียนในระยะเวลาที่นาน(ขึ้นอยู่กับอาการของเด็ก) ให้สอดคล้องและตรงตามพฤติกรรม คนเป็นครูต้องคำนึงถึงหลายๆเหตุและปัจจัย ทุกก้าวเดินของครูจึงมีความอันตราย เพราะอีกครึ่งหนึ่งของชีวิตครูคือการต้องดูแลเด็กๆทุกคน สำคัญเป็นอย่างมากครูจะต้องปรับพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์จากเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.สามารถนำความรู้ในครั้งนี้ไปเขียนแผน IEP ได้จริง เพื่อไปช่วยส่งเสริมพฤติกรรมเด็กพิเศษให้ดีขึ้นจากเดิม
2.สามารถนำความรู้การเขียนเผน IEP ไปฝึกฝนการเขียนแผน ​IEP ได้


ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน เข้าห้องเรียนสาย ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มเเละช่วยเพื่อนทำแผน IEP

ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆตั้งใจเรียน เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา เพื่อนตอบคำถามอาจารย์เวลาอาจารย์สอน 

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์อธิบายเนื้อหาสาระเกี่ยวแผน IEP ได้ละเอียด และยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพ 








บันทึกอนุทินครั้งที่ 14 วันที่ 15 เดือนเมษายน พ.ศ.2558


บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  15  เดือนเมษายน  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 14  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.






บันทึกอนุทินครั้งที่ 13 วันที่ 8 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  8  เดือนเมษายน  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


-วันนี้อาจารย์เเจกอุปกรณ์การเรียนให้กับนักศึกษาเป็นสีไม้ 24 สี จำนวน 1 กล่อง ให้กับนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มเรียน และอาจารย์ได้เเจกชีทเพลงให้กับนักศึกษาเเละให้นักศึกษาร่วมกันร้องเพลงเพื่อไปฝึกไปสอบในการครั้งต่อไป 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

      เป้าหมาย

      -การช่วยให้เด็กเเต่ละคนเรียนรู้ได้
      -มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
***-เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้***
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง

      ช่วงความสนใจ
    
      - ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
      - จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
      
        *** เด็กปกติมีความสนใจประมาณ 10 นาที  แต่ถ้าเป็นเด็กดาว์ซินโทรมจะประมาณ  5 นาที และเด็กสมาธิสั้นประมาณ 30 นาที***

         -การเล่านิทาน รอบที่ 1 เล่าให้จบรอบเดียว
         -การเล่านิทาน รอบที่ 2 ให้เล่าไปเเละค่อยๆถามไป

         (ควรเลือกนิทานที่เด็กอยากฟัง หรือนิทานที่เลือกจะต้องมีส่วนร่วมไม่ใช่เวลานานมากจนเกินไป)

      การเลียนแบบ
       
       (การให้เด็กพิเศษได้เรียนรู้ผ่านการเรียนเลียนแบบ)
       การทำตามคำสั่ง คำเเนะนำ
       -เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
       -เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
       -คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

    การรับรู้การเคลื่อนไหว

     (ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็ก คือ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น การตอบสนองอย่างหมาะสม)

   การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

    -การกรอกนำ้ ตวงนำ้
    -ต่อบล็อก(เด็กพิเศษการต่อบล็อกควรให้เด็กต่อบล็อกเป็นกลุ่ม ให้น้องวางทีละชิ้น และยํ้าเด็กตลอด          เวลา)
    -ศิลปะ (ระหว่างทำกิจกรรม เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จ เด็กไม่สามารถบอกกิจกรรมให้เด็กได้เลย                 "สำหรับเด็กพิเศษ"
   -มุมบ้าน
   -ช่วยเหลือตนเอง
   -กรรไกรสำหรับเด็กพิเศษ ควรมีขนาดที่จับง่ายสบายมือ

  ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

  -ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ 
  - รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก


    ความจำ

    -จากการสนทนา
    -เมื่อเช้าหนูทานอะไร
    -แกงจืดที่เรากิน ใส่อะไรบ้าง
    -จำตัวละครในนิทาน
    -จำชื่อ ครู เพื่อน
    -เล่นเกมทายของที่หาย

   ทักษะคณิตศาสตร์

   การสำรวจ การจำเเนก สเป็ก มิติ เปรียบเทียบ สังเกต ทดลอง แบ่งกลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต 

  การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

   -จัดกลุ่มเด็ก
  
  -เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้เวลาสั้นๆ

  ***ให้งานเด็กเเต่ละคนอย่างชัดเจนว่าทำที่ไหน***

  -ติดชื่อเด็กตามคำสั่ง

 -ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย

 -บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด 

 -รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน

 -มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ

 -เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง

 ***พูดในทางที่ดี(ขมเด็ก)***

 -จัดกิจกรรมเด็กได้เคลื่อนไหว

 -ทำบทเรียนให้สนุก

พัฒนาเพิ่มเติม

พัฒนาในเรื่องของการจัดการกับเด็กพิเศษจริงๆ เพราะยังไม่ได้ลงฝึกสอนกับเด็กพิเศษได้จริงๆจึงต้องเก็บรวมรวบหาความรู้ให้มากที่สุด เพื่อได้พบเจอกับเด็กพิเศษ สามารถนำไปสอน และเเก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตได้ในสังคมปัจจุบัน

ประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกเนื้อหาสาระเพิ่มเติม

ประเมินเพื่อน  : วันนี้เพื่อนๆมาเรียนเนื่องวันเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น ทำให้เพื่อนมาเรียนไม่ครบ เพื่อนตั้งใจเรียน และจดบันทึกเนื้อหาสาระที่อาจารย์สอนฃ

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์เตรียมอุปกรณ์การเรียนการสอนมาให้นักศึกษา อาจารย์อธิบายเนื้อสาระเพิ่มเติมให้เข้าใจมายิ่งขึ้น 








        



            
      








บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 วันที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  1  เดือนเมษายน  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

*หมายเหตุ การจัดกิจกรรมกีฬาสีของคณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม*



ภาพบรรยายกาศในการเเข่งขันกีฬาสี



ประเมินตนเอง : วันนี้มีการเเข่งกีฬาสี ดิฉันได้มาเข้าการเเข่งสีของคณะศึกษาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆมีความสามัคคีในการร่วมกันทำสเเตนเชียร์ให้กับน้องปี 2 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมอุปกรณ์ในการทำสแตนเชียร์ให้กับนักศึกษา อาจารย์ได้ช่วยนักศึกษาทำสแตนเชียร์ และมีการเลี้ยงอาหารเพื่อนๆที่ไปช่วยทำสแตนเชียร์










บันทึกอนุทินครั้งที่ 11 วันที่ 25 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558


บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  25  เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
*** หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์สอบเก็บคะเเนนวิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 คะเเนน  ซึ่งเป็นการสอบวัดความรู้ที่เคยเรียนมาใน 1 ภาคเรียน ***









วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 วันที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558



บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  18  เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.





วันนี้ได้เรียนรู้ในเรื่อง การส่งเสริมทักษะด้านต่างๆของเด็กพิเศษ






          เด็กอยากช่วยเหลือตนเองและอยากทำงานตามความสามารถของตนเองไม่ให้อยากให้ใครเข้ามาช่วยเหลือ เด็กอยากสร้างผลงานด้วยตนเองมากกว่าที่จะให้ใครมาช่วย เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตว่าเป็นผู้ใหญ่

         ความสำเร็จของเด็กพิเศษ คือ การที่เขาทำผลงานได้ด้วยตนเองและเขามีความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับผลงานและเรียนรู้สึกที่ดี

        ส่วนมากผู้ใหญ๋มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปหรือทำทุกอย่างทั้งๆที่เด็กสามารถทำเองได้ นี้คือข้อเสียอย่างหนึ่งเพราะเด็กจะไม่มีการพัฒนาและเมื่อเขาเติบโตขึ้นไปเขาจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ยาก เพราะ

เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วเพราะเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเพราะสิ่งที่เด็กต้องการจึงจะช่วยเด็กทำกิจกรรมได้

1.แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ

2.เรียงลำดับตามขั้นตอน ยกตัวอย่าง เช่น การเข้าส้วม 

   2.1 เข้าไปในห้องส้วม
   
   2.2 ดึงกางเกงลงมา

   2.3ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม

   2.4 ปัสาวะหรืออุจจาระ

  2.5ใช้กระดาษชำระลงในตะกร้า

  2.6 ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า

  2.7กดซักโครกหรือตักนำ้ราด

  2.8ดึงกางเกงขึ้น

 2.9ล้างมือ

 2.10ล้างมือ

        -เช็ดมือ

        -เดินออกจากส้วม

***การวางแผนทีละขั้น คือ การแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด***




กิจกรรมศิลปะบำบัด 





1.กระดาษ 100 ปอนด์ ขนาด A4 

2.สีเทียน

3.กรรไกร


1.เลือกสีเทียนที่ตนเองชอบมา 1 สี แล้วจุดตรงกลางกระดาษเป็นรูปวงกลม

2.นำสีเทียนสีต่างๆมาวนรอบๆจุดๆไปทีละขั้นๆตามที่เราต้องการ

3.นำกรรไกรตัดให้เป็นวงกลมเท่าขนาดที่เราวนสี

4.นำไปและลงที่ลำต้นของต้นไม้ตามที่เราต้องการ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

1.สามารถนำความรู้การส่งเสริมทักษะด้านต่างๆของเด็กพิเศษไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผน IEP ได้จริงๆ

2.สามารถนำกิจกรรมไปประยุกต์ในการเขียนการสอนในอนาคตได้

3.มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมศิลปะบำบัดให้กับเด็กพิเศษได้ถูกต้อง





ประเมินตนเอง :  วันี้เข้าห้องเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าร่วมทำกิจกรรมพิเศษที่อาจารย์จัดไว้ให้และออกไปติดผลงานของตนเองหน้าห้องเรียน

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์ และตอบคำถามของอาจารย์ ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้กับนักศึกษาทุกคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความพร้อมในการเรียนการสอน มีอุปกรณ์การทำกิจกรรมมาให้กับนักศึกษา และอาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย