บันทึกอนุทิน
วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 8.30 น.
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเข้าเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนทำแบบทดสอบจิตวิทยา ชื่อแบบทดสอบ ดิ่งพสุธา จากนั้น อาจารย์ได้สอนทฤษฎี ในเรื่องโปรเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualozed Education Program) โดยมีหัวข้อ ดังนี้
แผน IEP
-การเขียนแผน IEP
-ส่วนประกอบของแผน IEP
-ประโยชน์ต่อเด็ก
-ประโยชน์ต่อครู
-ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การจัดทำแผน
- การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-จุดมุ่งหมายระยะยาว
-จุดหมายระยะสั้น
3.การใช้แผน
4.การประเมินผล
-การจัดทำแผน IEP
จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน แล้วช่วยกันทำเขียนแผน IEP โดยการเขียนแผน อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนจำนวนกี่ทักษะก็ได้ โดยให้สมมุติว่าเพื่อนในกลุ่ม 1 คน เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยกลุ่มดิฉันได้สมมุติให้นางสาวบุราคัม สะระณุ (สมายด์) เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ท้ายคาบเรียนอาจารย์ให้ส่งเเผนการสอนทุกกลุ่ม
สรุปการเรียนการเขียนแผน IEP
ในการเรียนครั้งนี้ทำให้ดิฉันทราบถึงการเขียนแผน IEP นั้นต้องใช้ระยะเวลาในการเขียนเท่าไร และมีวิธีการเขียนที่ต้องมีความละเอียดและชัดเจน เพื่อที่จะนำไปใช้กับเด็กได้จริง แผน IEP นั้น จะเขียนในระยะเวลาที่นาน(ขึ้นอยู่กับอาการของเด็ก) ให้สอดคล้องและตรงตามพฤติกรรม คนเป็นครูต้องคำนึงถึงหลายๆเหตุและปัจจัย ทุกก้าวเดินของครูจึงมีความอันตราย เพราะอีกครึ่งหนึ่งของชีวิตครูคือการต้องดูแลเด็กๆทุกคน สำคัญเป็นอย่างมากครูจะต้องปรับพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์จากเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
1.สามารถนำความรู้ในครั้งนี้ไปเขียนแผน IEP ได้จริง เพื่อไปช่วยส่งเสริมพฤติกรรมเด็กพิเศษให้ดีขึ้นจากเดิม
2.สามารถนำความรู้การเขียนเผน IEP ไปฝึกฝนการเขียนแผน IEP ได้
ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน เข้าห้องเรียนสาย ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มเเละช่วยเพื่อนทำแผน IEP
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา เพื่อนตอบคำถามอาจารย์เวลาอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์อธิบายเนื้อหาสาระเกี่ยวแผน IEP ได้ละเอียด และยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น