วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 วันที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558



บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  18  เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 10  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.





วันนี้ได้เรียนรู้ในเรื่อง การส่งเสริมทักษะด้านต่างๆของเด็กพิเศษ






          เด็กอยากช่วยเหลือตนเองและอยากทำงานตามความสามารถของตนเองไม่ให้อยากให้ใครเข้ามาช่วยเหลือ เด็กอยากสร้างผลงานด้วยตนเองมากกว่าที่จะให้ใครมาช่วย เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตว่าเป็นผู้ใหญ่

         ความสำเร็จของเด็กพิเศษ คือ การที่เขาทำผลงานได้ด้วยตนเองและเขามีความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับผลงานและเรียนรู้สึกที่ดี

        ส่วนมากผู้ใหญ๋มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปหรือทำทุกอย่างทั้งๆที่เด็กสามารถทำเองได้ นี้คือข้อเสียอย่างหนึ่งเพราะเด็กจะไม่มีการพัฒนาและเมื่อเขาเติบโตขึ้นไปเขาจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ยาก เพราะ

เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วเพราะเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเพราะสิ่งที่เด็กต้องการจึงจะช่วยเด็กทำกิจกรรมได้

1.แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ

2.เรียงลำดับตามขั้นตอน ยกตัวอย่าง เช่น การเข้าส้วม 

   2.1 เข้าไปในห้องส้วม
   
   2.2 ดึงกางเกงลงมา

   2.3ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม

   2.4 ปัสาวะหรืออุจจาระ

  2.5ใช้กระดาษชำระลงในตะกร้า

  2.6 ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า

  2.7กดซักโครกหรือตักนำ้ราด

  2.8ดึงกางเกงขึ้น

 2.9ล้างมือ

 2.10ล้างมือ

        -เช็ดมือ

        -เดินออกจากส้วม

***การวางแผนทีละขั้น คือ การแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด***




กิจกรรมศิลปะบำบัด 





1.กระดาษ 100 ปอนด์ ขนาด A4 

2.สีเทียน

3.กรรไกร


1.เลือกสีเทียนที่ตนเองชอบมา 1 สี แล้วจุดตรงกลางกระดาษเป็นรูปวงกลม

2.นำสีเทียนสีต่างๆมาวนรอบๆจุดๆไปทีละขั้นๆตามที่เราต้องการ

3.นำกรรไกรตัดให้เป็นวงกลมเท่าขนาดที่เราวนสี

4.นำไปและลงที่ลำต้นของต้นไม้ตามที่เราต้องการ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

1.สามารถนำความรู้การส่งเสริมทักษะด้านต่างๆของเด็กพิเศษไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผน IEP ได้จริงๆ

2.สามารถนำกิจกรรมไปประยุกต์ในการเขียนการสอนในอนาคตได้

3.มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมศิลปะบำบัดให้กับเด็กพิเศษได้ถูกต้อง





ประเมินตนเอง :  วันี้เข้าห้องเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าร่วมทำกิจกรรมพิเศษที่อาจารย์จัดไว้ให้และออกไปติดผลงานของตนเองหน้าห้องเรียน

ประเมินเพื่อน :  เพื่อนๆเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์ และตอบคำถามของอาจารย์ ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้กับนักศึกษาทุกคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความพร้อมในการเรียนการสอน มีอุปกรณ์การทำกิจกรรมมาให้กับนักศึกษา และอาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย















วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9 วันที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558



บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  11  เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการสอบบรรจุข้าราบการครู ซึ่งเป็นกำลังให้กับคนที่อยากจะสอบให้ได้จริงๆควรจะพยายามเเละขยันอ่านหนังสือ จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาร้องเพลงกับนักศึกษา


หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศีกษาทำกิจกรรม อาจารย์ให้นักศึกษาดูภาพสิงโตกับม้าลาย ให้นักศึกษาเล่าความรู้สึกเมื่อเห็นสัตว์เหล่านี้ ดิฉันเเสดงความคิดเห็นว่า สัตว์เหล่านี้มันเป็นวัฎจักรการดำเนินชีวิตของพวกมัน


ทักษะทางภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา                                       
1.เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด
2.ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
3.ถามหาสิ่งต่างๆไหม ส่วนมากจะเป็นเด็กออทิสติก
4.บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
5.ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
1.การพูดตกหล่น พูดไม่เต็มคำ
2.การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
3.ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
1.ไม่สนใจการพูดช้าและออกเสียงไม่ชัด
2.ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆตามสบาย คิดก่อนพูด 
3.อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
4.อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
5.ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
6.เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
1.ทักษะการรับรู้ภาษา
2.การเเสดงออกทางภาษา
3.การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด เช่น แสดงท่าทาง แสดงสีหน้า ทางด้านร่างกาย

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
1.การรับรู้ภาษามาก่อนการเเสดงออกทางภาษา
2.ภาษาที่ไม่ใช้คำพูดมาก่อนภาษาพูด
3.ให้เวลาเด็กได้พูด
4.ค่อยให้เด็กตอบ(ชี้เเนะหากจำเป็น)
5.เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
6.เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเป็นอย่างเดียว
7.ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
8.กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง(ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
9.เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
10.ใช้คำถามปลายเปิด
11.เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ้มพูดได้มากเท่านั้น
12.ร่วมกิจกรรมกับเด็กโดยการสอนตามเหตุการณ์




















อุปกรณ์

1.กระดาษ

2.สีเทียน

วิธีการดำเนิน 
อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน 1 คู่ โดยอาจารย์แจกกระดาษให้คู่ละ 1 แผ่น โดยมีกติกาว่าใช้คู่ของตัวเองแต่ละคู่มีสีเทียนคนละ 1 แท่งอจากนั้นอาจารย์จะเปิดเพลงให้ฟังและให้เเต่ละกลุ่ม วาดรูป ตามเสียงเพลงแต่ต้องวาดให้เป็นเส้นตรงเท่านั้น และเมื่อวาดเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำสีเทียนมาระบายสีช่องที่ขีดโดยมีมุมปิดหมดทุกด้านจนเต็มหมดทุกช่วง



1.ได้ฝึกสมาธิ
2.ได้ฝึกความอดทน
3.ได้ใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4.ได้ผ่อนคลายอารมณ์ มีความสนุกสนาน
5.ได้เรียนรู้รูปร่างและรูปทรงต่างๆ
6.ได้เรียนรู้ในเรื่องของมิติสัมพันธ์
                                          
-สามารถนำความรู้เรื่องของทักษะทางด้านภาษาของเด็กพิเศษ ไปประยุกต์ในการเรียนการสอนในสถานการณ์จริงๆได้

-สามารถนำความรู้ที่ได้รับในเรื่อง การทำแบบประเมินพฤติกรรมทางด้านภาษามาปรับปรุงใช้ในการทำกิจกรรมของเด็กปฐมวัย

ประเมิน

ประเมินตนเอง เข้าห้องเรียนสาย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอน เเละค่อยตอบที่อาจารย์ถาม เเละร่วมทำกิจกรรมกลุ่มที่อาจารย์มอบหมายให้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเข้าใจเนื้อหา เเละอธิบายเนื้อให้นักศึกษาเข้าใจง่ายๆ อาจารย์มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้กับนักศึกษาทำงานกลุ่ม 

















บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 วันที่ 4 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  4  เดือนมีนาคม  พ.ศ.2558

ครั้งที่ 8  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


วันหยุดราชการ คือ วันมาฆบูชา 


ความหมายของวันมาฆบูชา 

วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน 3  เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

ความสำคัญของวันมาฆบูชา 

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้นซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

ประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา

 ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน 
เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า
มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต
คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ
  • “จาตุร” แปลว่า ๔
  • “องค์” แปลว่า ส่วน
  • “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม
ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
  1. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร
    ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
  2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก
    พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
  3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
     ะพเเเดิิ



  4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ
มูลเหตุ

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริก
เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ล่วงแล้วได้ 9 เดือน ในวันที่ใกล้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้ระลึกว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของตนอยู่เดิม ก่อนที่จะหันมา
นับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และในลัทธิศาสนาเดิมนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือ
กันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ตนได้เลิกลัทธิเดิมหันมา
นับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงควรเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชาฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้น 
ซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย
มีผู้กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสาวกทั้ง 1,250 องค์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย มาจากในวันเพ็ญเดือน 3 
ตามคติพราหมณ์ เป็นวันพิธีศิวาราตรี พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกัน
ทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์ มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน

 กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา





การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด  ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน  รอบพระอุโบสถพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา 
ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัดเตรียมไว้เป็นอันเสร็จพิธี






บันทึกอนุทินครั้งที่ 7 วันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ 2558

บันทึกอนุทิน

วิชา EAED 3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น

วัน/เดือน/ปี วันที่  25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

ครั้งที่ 7  เวลาเรียน 8.30 น.
  
เวลาเข้าเรียน 8.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


 มหาวิทยาลัยมีการสอบกลางภาค ไม่มีการเรียนการสอน